“ราว พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รับสั่งให้ขุดค้นบริเวณศาลลูกศรพระราม ขุดลึกลงไปได้ 8 ศอก ก็พบหินสลัก “เป็นมือจับกระบอง” โตราว 7 นิ้วฟุต ยาวประมาณ 1 ศอก โปรดเกล้าฯ ให้นำลงมาไว้ยังกรุงเทพฯ..”
“ครั้น พ.ศ. 2473 ชาวจีนตลาดท่าหิน (คือ ตลาดลพบุรีส่วนที่เจริญมากคือที่ถนนพระรามอยู่ใน ต.ท่าหิน จนบางคนเรียกตลาดท่าหินก็มี) ได้ร่วมกันสร้างศาลครอบบริเวณนั้น และเรียกกันว่า ศาลหลักเมือง”
ต่อมาความเจริญย่านการค้าที่ถนนพระรามขยายมากขึ้นจนกระทั่งไปสิ้นสุดลงที่ตลาดท่าโพธิ์ ที่อยู่ตอนบนหรือตอนเหนือ ชาวตลาดท่าโพธิ์เกิดมาสร้าง “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” ขึ้นอีกข้างๆ ต้นโพธิ์ เป็นอันว่าศาลหลักเมืองลพบุรีที่ถนนพระรามมี 2 เสา แต่ละแห่งต่างได้รับความเคารพสักการะจากประชาชนเป็นอย่างดี
ศาลลูกศรและศาลหลักเมือง ที่ตลาดท่าโพธิ์การก่อสร้างทรวดทรงแบบจีน อีกทั้งศิลปะการตกแต่งก็เป็นแบบจีน เป็นความงามตามแบบฉบับของชาวจีนล้วนๆ
ข้อมูลจาก เพจเรารัก “ลพบุรี”
ศาลลูกศรและศาลหลักเมือง ที่ตลาดท่าโพธิ์การก่อสร้างทรวดทรงแบบจีน อีกทั้งศิลปะการตกแต่งก็เป็นแบบจีน เป็นความงามตามแบบฉบับของชาวจีนล้วนๆ