ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาสี่ปีและแผนการดำเนินงาน สำหรับแผนการดำเนินงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงรายละเอียดแผนงาน /โครงการพัฒนาและกิจกรรมที่ดำเนินการจริงทั้งหมด ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณนั้น เพื่อให้แนวทางในการดำเนินงานในปีงบประมาณนั้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความชัดเจนในการปฏิบัติมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของโครงการมีการประสานและบูรณาการทำงานกับหน่วยงานและจำแนกรายละเอียดต่างๆ ของแผนงาน/โครงการในแผนดำเนินงาน และทำให้การติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นปีมีความสะดวกมากขึ้น
1. เป็นแผนที่แยกออกมาจากแผนพัฒนา และมีลักษณะเป็นแผนดำเนินการ
2. จัดทำหลังจากที่ได้มีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว
3. แสดงถึงเป้าหมาย รายละเอียดกิจกรรม งบประมาณ ระยะเวลาที่ชัดเจน และแสดงถึงการดำเนินงานจริง
4. เป็นการรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่จะเข้ามาดำเนินการในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แผนการดำเนินงานเป็นเอกสารที่ระบุแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทั้งหมดที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ทำให้แนวทางในการดำเนินงานในปีงบประมาณของเทศบาลมีความชัดเจนในการปฏิบัติมากขึ้น มีการประสานและบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานและการจำแนก รายละเอียดต่างๆ ของแผนงาน /โครงการ ในแผนการดำเนินงานจะทำให้การติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นปีมีความสะดวกมากขึ้นด้วย
1. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลรวบรวมแผนงาน/โครงการพัฒนาของเทศบาล หน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่ของเทศบาลแล้วจัดทำร่างแผนการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล
2. คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลพิจารณาร่างแผนการดำเนินงาน แล้วเสนอนายกเทศมนตรี ประกาศเป็นแผนการดำเนินงาน ทั้งนี้ให้ ปิดประกาศแผนการดำเนินงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศเพื่อให้ประชาชนในเทศบาลทราบโดยทั่วกันและต้องปิดประกาศไว้อย่างน้อยสามสิบวัน
1. เป็นแผนที่แสดงถึงรายละเอียดของโครงการ / กิจกรรมการพัฒนาที่ดำเนินการจริงทั้งหมดในพื้นที่เขตเทศบาลประจำปีงบประมาณนั้น
2. เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาล เพื่อควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3. ช่วยให้เทศบาลประหยัดทั้งด้านระยะเวลา บุคลากร วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณ โดยสามารถดำเนินการพัฒนาได้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย จุดมุ่งหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. ส่งเสริมการประสานงานที่ดีระหว่างองค์การต่างๆ ที่ดำเนินงานในพื้นที่เขตเทศบาล ทำให้กิจกรรมต่างๆ ที่จัดไว้มุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน มีการจัดประสานงานในฝ่ายต่าง ๆ ขององค์การเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในงานแต่ละฝ่ายขององค์การ