เทศบาลเมืองลพบุรีเทศบาลเมืองลพบุรีเทศบาลเมืองลพบุรี จันทร์ - ศุกร์ 08:30-16:30 036 411 047 จันทร์ - ศุกร์ 08:30-16:30 036 411 047
saraban@lopburicity.go.th

ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปของ
เทศบาลเมืองลพบุรี

รู้หรือไม่ ?

1. ด้านกายภาพ
     1.1 ที่ตั้งของเทศบาลเมืองลพบุรี เทศบาลเมืองลพบุรีตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ในความรับผิดชอบประกอบด้วยตำบลท่าหิน และบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร 
     1.2 ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเทศบาลเมืองลพบุรีตัวเมืองจะเป็นแนวยาวไปตามทิศตะวันออกและทิศตะวันตก โดยพื้นที่ทางทิศตะวันออกจะเป็นเนินสูง และลาดมาทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นบริเวณที่ลุ่ม มีแม่น้ำลพบุรีและลำคลองไหลผ่านพื้นที่รอบๆตัวเมืองส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับที่พักอาศัย พาณิชยกรรมและเกษตรกรรม
      1.3 ลักษณะภูมิอากาศ เป็นลักษณะฝนเมืองร้อน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
– ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนพฤษภาคม 
– ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม 
– ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 
       1.4 ลักษณะของดิน พื้นที่กว่าร้อยละ 50 เป็นพื้นที่สำหรับใช้ในราชการทหาร พื้นที่ที่เหลือเป็นที่ดินในเขตโบราณสถาน ที่ราชพัสดุ และที่ดินของเอกชน
       1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ เทศบาลเมืองลพบุรีมีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านด้านฝั่งขวา ฝั่งซ้ายมีคลองอนุศาสนนันท์ (ชัยนาท-ป่าสัก) รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและมีลำคลองที่อยู่ในเขตเทศบาล อีก 3 คลอง ประกอบด้วย คลองเรือก คลองสายบัว และคลองบางปี่

2. ด้านการเมือง/การปกครอง
         2.1 เขตการปกครอง เทศบาลเมืองลพบุรีมีขนาดพื้นที่ 6.85 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,281 ไร่
มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
– ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลทะเลชุบศร
– ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลป่าตาล ตำบลโพธิ์เก้าต้น
– ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลเขาสามยอดและตำบลป่าตาล
– ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลพรหมมาสตร์

         2.2 การเลือกตั้ง สภาเทศบาลเมืองลพบุรี ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 18 คน โดยให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

3. ประชากร
         3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร  มีประชากรทั้งสิ้น 22,755 คน แยกเป็น ชาย 11,133 คน หญิง 11,622 คน จำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 18,063 คน แยกเป็นชาย 8,584 คน หญิง 9,479 คน (ข้อมูล 31 ธ.ค. 61)

4. สภาพทางสังคม
         4.1 การศึกษา โรงเรียนสังกัดเทศบาล 

1. โรงเรียนเทศบาล 1 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
2. โรงเรียนเทศบาล 2 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
3. โรงเรียนเทศบาล 3 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
4. โรงเรียนเทศบาล 4 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
5. โรงเรียนเทศบาล 5 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองลพบุรี

         4.2 การสาธารณสุข
1) ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลพบุรี 1 แห่ง
2) คลินิกเอกชน 48 แห่ง
3) ร้านขายยา 49 แห่ง
4) บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลพบุรี มีพยาบาล 6 คน ทันตแพทย์ 1 คน
5) ผู้เข้ารับการรักษาในศูนย์บริการสาธารณสุข ประมาณ 1,540 คน / ปี
6) ประเภทการเจ็บปุวยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขของ
เทศบาลเมืองลพบุรี 5 อันดับแรก คือ
1. โรคระบบไหลเวียนเลือด
2. โรคระบบทางเดินหายใจ
3. โรคระบบต่อมไร้ท่อ
4. โรคข้อและกล้ามเนื้อ
5. โรคระบบย่อยอาหารและโรคในช่องปาก

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
น้ำเสีย
1. ปริมาณน้ำเสีย 23,446 ลบ.ม. / วัน
2. ค่า BOD. 20 ในคลอง / ทางระบายน้ าสายหลัก 20 mg/ลิตร
การกำจัดขยะ
1. ปริมาณขยะ 170 – 200 ตัน / วัน
2. ขยะที่เก็บขนได้ จำนวน 170 – 200 ตัน / วัน
3. ขยะที่กำจัดได้ จำนวน 170 – 200 ตัน / วัน กำจัดขยะโดยวิธีกองบนพื้นและจ้างเอกชนกำจัดขยะ วันละ 100 ตัน/วัน
4. ที่ดินสำหรับกำจัดขยะที่กำลังใช้ จำนวน 33 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ต.ทะเลชุบศร ห่างจากเขตเทศบาลระยะทางประมาณ 3 กม. ที่ดินสำหรับกำจัดขยะที่ใช้ไปแล้ว 33 ไร่ คาดว่าจะสามารถกำจัดขยะได้อีก 10 ปี
7. ที่ดินสำรองที่เตรียมไว้สำหรับกำจัดขยะ จำนวน 175 ไร่ ที่ตั้ง อ.ท่าวุ้ง ห่างจากเทศบาลระยะทางประมาณ 11 กม.

           4.3 การสังคมสงเคราะห์
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เทศบาลเมืองลพบุรีได้รับจัดสรรงบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อรองรับการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบฯ จำนวน 3,166 คน เบี้ยความพิการ จำนวน 324 คน และเทศบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์อีก จำนวน 11 คนๆ ละ 500 บาทต่อเดือน

5. ระบบบริการพื้นฐาน
            5.1 การคมนาคมขนส่ง
จังหวัดลพบุรีสามารถเดินทางติดต่อภายในจังหวัดและจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง,ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก ประกอบด้วยโครงข่ายระบบถนนและทางรถไฟ
ทางรถยนต์
ระยะทางจากกรุงเทพฯ เข้าสู่จังหวัดลพบุรี ระยะทาง 153 กิโลเมตร
มีสถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลเมืองลพบุรี 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนสระแก้ว การเดินทางระหว่างลพบุรี-กรุงเทพ
มีรถยนต์โดยสารปรับอากาศบริการ คือ รถยนต์ปรับอากาศ ชั้น 1 วิ่งอย่างน้อยวันละ 1 เที่ยว รถยนต์ปรับอากาศ ชั้น 2 อย่างน้อยวันละ 10 เที่ยว รถออกตั้งแต่เวลา 05.30-16.00 นอกจากนั้นยังมี รถโดยสารปรับอากาศที่เป็นรถผ่านไปยังจังหวัดต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง และรถยนต์ปรับอากาศ (รถตู้) และรถยนต์โดยสารธรรมดา เดินทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ และจังหวัดใกล้เคียง
ทางรถไฟ
มีเส้นทางรถไฟผ่านเทศบาลเมืองลพบุรี 1 สาย คือ สายเหนือผ่านอำเภอเมืองลพบุรี
และอำเภอบ้านหมี่ รถไฟที่ผ่านสถานีลพบุรีภายในหนึ่งวันมี จำนวน 34 เที่ยว เที่ยวไป 17 เที่ยว – เที่ยวกลับ 17 เที่ยว
ถนน
ในเขตเทศบาลมีถนนจำนวน 74 สาย รวมความยาวทั้งสิ้น 26,187 เมตร ประกอบด้วย
– ถนน ค.ส.ล. จำนวน 26 สาย ความยาว 6,593 เมตร
– ถนนลาดยางแอสฟัลท์ฯ จำนวน 48 สาย ความยาว 19,594 เมตร
ถนนเป็นเส้นทางที่เทศบาลตัดและขยายให้บริการแก่ประชาชนในเขตเทศบาลให้เพียงพอและมีมาตรฐาน

 

 

                5.2 การไฟฟ้า
การให้บริการประชาชนด้านการไฟฟ้าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เทศบาลเมืองลพบุรีมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการติดตั้งซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายในอุปกรณ์เฉพาะไฟฟ้าสาธารณะเพื่อให้ความสว่างตามถนน ตรอก ซอย ปัจจุบัน มีจำนวนครัวเรือนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ขอติดตั้งมิเตอร์และมีไฟฟ้าใช้แล้วเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จำนวนทั้งสิ้น 12,489 ราย
                5.3 การประปา
แบ่งเขตการจำหน่ายเป็น 2 เขต คือ การประปาเทศบาลเมืองลพบุรี ใช้น้ำดิบจากคลองชลประทานอนุศาสนนันท์สายชัยนาท – ป่าสัก และจากแม่น้ำลพบุรี ให้บริการในเขตเทศบาลในตำบลท่าหิน นอกเขตเทศบาลบางส่วน โดยมีกำลังผลิต 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปัจจุบันการผลิตน้ำเท่ากับปริมาณการใช้น้ำของประชาชนประมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ผู้ใช้น้ำประปาจำนวน 5,163 ราย (ในเขตเทศบาล 2,600 ราย, นอกเขตเทศบาลเมืองลพบุรี 2,563 ราย)
– อัตราต้นทุนการผลิตต่อหน่วย 8.18 บาท/ลบ.ม.
– อัตราค่าน้ำต่ำสุด 3.75 บาท/ ลบ.ม. สูงสุด 9.00 บาท/ลบ.ม.
– อัตราค่าบริการต่ำสุด 25 บาท สูงสุด 60.00 บาท
การประปาส่วนภูมิภาค ใช้น้ำดิบจากคลองชลประทานอนุศาสนนันท์สายชัยนาท-ป่าสักและแม่น้ำลพบุรี
โดยมีอัตราการผลิต 48,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (สถานีผลิตมี 2 แห่ง) ปริมาณการใช้น้ำ 34,655 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปริมาณการใช้น้ำประปาเฉลี่ย 873 ลิตร/คน/วัน ผู้ใช้น้ำประปาในเขตเทศบาล จำนวน 3,155 ราย
– อัตราต้นทุนการผลิตต่อหน่วยในปีงบประมาณ 2554 5.18 บาท/ลบ.ม.
– อัตราค่าน้ำต่ำสุด 10.20 บาท/ลบ.ม. สูงสุด 26.45 บาท/ลบ.ม.
– อัตราค่าบริการต่ำสุด 30 บาท สูงสุด 1,200 บาท
                  5.4 โทรศัพท์
– โทรศัพท์มี 12 ชุมสาย ในเขตเทศบาลมี 1 ชุมสาย คือ ชุมสายโทรศัพท์ลพบุรี
– สถานีวิทยุมี 2 แห่ง คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงมณฑลทหารบกที่ 13 ระบบเอเอ็มและเอฟเอ็ม และมีวิทยุชุมชนที่ออกอากาศในเขตเทศบาลเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น มี 2 แห่ง คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ เคเบิล ดับ บลิว จี ทีวี จังหวัดลพบุรี,เคเบิ้ลทีวี UBC
                  5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
– ไปรษณีย์โทรเลขมีที่ทำการไปรษณีย์อยู่ในเขตเทศบาล 3 แห่ง คือที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลขลพบุรี ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขท่าหิน และที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระนารายณ์ วัสดุ ครุภัณฑ์ที่ใช้ส้าหรับบริการสาธารณะ
       1. รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะ รวม 11 คัน แยกเป็น
1.1 รถยนต์บรรทุกขยะแบบเทท้าย 2 คัน
1.2 รถยนต์บรรทุกขยะแบบอัดท้าย5 คัน
1.3 รถยนต์บรรทุกขยะแบบคอนเทนเนอร์2คัน 1.4รถยนต์บรรทุกขยะแบบปิกอัพ 2 คัน
1.5 รถยนต์บรรทุกขยะแบบเปิดข้างเทท้าย 1 คัน
       2. รถยนต์อื่นๆ
– รถยนต์ดูดท่อระบายน้ำ ขนาดความจุ 6 ลบ.เมตร 2 คัน
– รถยนต์ดูดสิ่งปฏิกูล ขนาดความจุ 6 ลบ.เมตร 1 คัน
– รถยนต์ดูดสิ่งปฏิกูล ขนาดความจุ 3 ลบ.เมตร 1 คัน
– รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ 1 คัน
– รถขุดแมคโคร 2 คัน
– รถยนต์สุขาเคลื่อนที่ 2 คัน

6. ระบบเศรษฐกิจ
              6.1 การท่องเที่ยว จังหวัดลพบุรีได้รับการกำหนดเป็นจังหวัดท่องเที่ยวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2531 สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดมีทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ได้แก่
1. พระนารายณ์ราชนิเวศน์
2. บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์)
3. พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร)
4. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
5. พระปรางค์สามยอด
6. ศาลพระกาฬ
7. อนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม
8. ศาลหลักเมือง
9. ศาลลูกศร
10. วัดสันเปาโล
11. เทวสถานปรางค์แขก
12. พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
13. โบราณสถานวัดปืน
14. วัดนครโกษา
15. วัดเสาธงทอง
16. วัดกวิศราราม
17. วงเวียนเทพสตรี (วงเวียนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)
18. วงเวียนศรีสุริโยทัย (วงเวียนสระแก้ว)
19. สวนสัตว์สระแก้วลพบุรี
20. สวนสาธารณะริมคลองอนุศาสนนันท์ (คลองชลประทาน)
21. ลานอเนกประสงค์ชุมชนตลาดล่าง (จุดชมวิวริมแม่น้ำลพบุรี)

                6.2 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
                 ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพาณิชยกรรมเป็นตัวแทน ค้าปลีก – ส่ง จำนวนสถานประกอบการด้านการพาณิชยกรรมและการบริการในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี ประกอบด้วย สถานีบริการน้ำมัน 3 แห่ง ตลาดสด 4 แห่ง เป็นของเทศบาล 1 แห่ง เอกชน 3 แห่ง ร้านอาหาร 84 ร้าน,แผงลอย 82 ร้าน, ของชำ 127 ร้าน ห้างสรรพสินค้า 1 แห่ง ร้านแต่งผม -เสริมสวย 96 ร้าน, อู่เคาะพ่นสี 7 ร้าน,อู่ซ่อมเครื่องยนต์ 21 ร้าน(รถยนต์), สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองลพบุรี 1
แห่งและโรงรับจำนำเอกชน 1 แห่ง , ร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ 25 ร้าน, โรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง , โรงแรม 13 แห่ง ,โรงภาพยนตร์ 1 แห่ง,ธนาคาร 19 แห่ง,ธุรกิจค้าทอง 23 แห่ง,ธุรกิจเช่าซื้อ-ธุรกิจไฟแนนซ์ 8 แห่ง และร้านค้าสะดวกซื้อ 13 แห่ง

7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
                 7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
มีชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีทั้งสิ้น 26 ชุมชน รวมประชากรทั้งสิ้น 25,470 คน ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

                 7.2 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้้าใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
เนื่องจากลักษณะพื้นที่ภายในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีเป็นเขตเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์และที่พักอาศัย ไม่มีพื้นที่สำหรับการเกษตรและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
บริโภคใช้น้ำดิบจากคลองชลประทานอนุศาสนนันท์สายชัยนาท – ป่าสัก และจากแม่น้ำลพบุรี

8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
                 8.1 การนับถือศาสนา ประชาชนในเขตเทศบาลร้อยละ 95 นับถือศาสนาพุทธ ส่วนที่เหลือเป็นศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามฯ
                 8.2 ประเพณีและงานประจำปี
1. งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่
2. งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ช่วงเดือนกุมภาพันธ์)
3. งานประเพณีสงกรานต์ (ช่วงเดือนเมษายน)
4. งานประเพณีลอยกระทงย้อนยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม (ช่วงเดือนพฤศจิกายน)
5. งานเลี้ยงโต๊ะจีนลิง (วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน)
6. งานทุ่งทานตะวัน (ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม)

                 8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีใช้ภาษาไทยกลางเป็น
ภาษาถิ่น และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นคือลิเก โดยเทศบาลเมืองลพบุรีได้ส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัดเทศบาล
เมืองลพบุรีสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนร้องร าลิเก
                 8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ดินสอพอง ไข่เค็มดินสอพอง น้อยหน่า ส้มฟัก ผ้ามัดหมี่ ผ้าไหม-ฝูาย และผ้าขาวม้า
ลายไส้ปลาไหล เสื่อกก เครื่องทองเหลือง