เทศบาลเมืองลพบุรีเทศบาลเมืองลพบุรีเทศบาลเมืองลพบุรี จันทร์ - ศุกร์ 08:30-16:30 036 411 047 จันทร์ - ศุกร์ 08:30-16:30 036 411 047
saraban@lopburicity.go.th

โครงสร้างเทศบาลเมืองลพบุรี

แผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ

หน่วยงานภายใน

เทศบาลเมืองลพบุรี
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
สำนักช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการประปา
กองสวัสดิการสังคม
หน่วยงานตรวจสอบภายใน

มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคลของเทศบาล งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง งานนิติการ  งานสถานีขนส่ง การให้บริการ ประชาชนทางด้านงานทะเบียนราษฎร นอกจากนี้ยังควบคุม ดูแลงานสารบรรณของเทศบาล งานกิจการสภาเทศบาล งานรัฐพิธี การประชุมพนักงานเทศบาล จัดเตรียมให้บริการด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การติดต่ออำนวยความสะดวกต่างๆ งานการเลือกตั้งและงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นติดต่องานทะเบียนราษฎร
1. การแจ้งเกิด
– เจ้าบ้านหรือบิดา หรือมารดา เป็นผู้แจ้ง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีเจ้าบ้านแจ้งให้นำบัตรบิดาหรือมารดามาแสดงด้วย)
– หนังสือรับรองการเกิด หรือหนังสือรับแจ้งการเกิด (ถ้ามี)
– แจ้งภายใน 15 วัน
2. การแจ้งเกิดเกินกำหนด
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง,บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)
– หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล หรือหนังสือรับแจ้งการเกิด (ถ้ามี)
– ค่าปรับ 1,000 บาท
3. การแจ้งตาย
– เจ้าบ้านหรือผู้พบศพหรือผู้ที่ไปกับผู้ตายเป็นผู้แจ้งพร้อมบัตรประชาชน
– กรณีตายโดยผิดธรรมชาติให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจเพื่อชันสูตรพลิกศพก่อน
– ถ้าผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลให้นาสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาแสดง
– หนังสือรับรองการตายหรือหนังสือรับแจ้งการตาย (ถ้ามี)
– แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง
4. การแจ้งย้ายที่อยู่
– เจ้าบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง
– กรณีมอบอำนาจให้นาบัตรผู้แจ้งและบัตรเจ้าบ้านมาแสดงด้วย
– ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (กรณีย้ายเข้า)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายออกหรือย้ายเข้า แจ้งภายใน 15 วัน
5. การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง (อัตโนมัติ)
– ผู้แจ้งพร้อมบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบัน
– เจ้าบ้านพร้อมบัตรประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท
6. การออกใบแทนใบแจ้งย้ายที่อยู่ กรณีสูญหายหรือชำรุด
– บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้แจ้งหรือเจ้าบ้าน)
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท
7. การจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ใบมรณบัตร
– ใบมรณะบัตรฉบับแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยกระทรวงต่างประเทศ(กรณีตายต่างประเทศ)
8. การขอบ้านเลขที่กรณีบ้านปลูกสร้างใหม่
– บัตรผู้แจ้ง กรณีเป็นเจ้าของบ้าน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– เอกสารที่ดิน (โฉนด)
– ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
– หนังสือมอบอำนาจ บัตรผู้มอบ บัตรผู้รับมอบ (กรณีมอบอำนาจ)
9. การขอแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร
ให้นำเอกสารการทะเบียนราษฎรที่ผิดพลาดมาติดต่อเจ้าหน้าที่ เอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น
– เอกสารการทะเบียนราษฎร
– สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิ
– หลักฐานการขึ้นทะเบียนทหาร (ส.ด.9)
– หลักฐานการสมรสหรือหย่า
– ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อตัว-หรือชื่อสกุล
– ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านหลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นติดต่องานบัตรประจำตัวประชาชน

ขอมีบัตร
1.กรณีขอมีบัตรครั้งแรก (อายุ 7 ปีบริบูรณ์)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
– บิดา/มารดา/เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเชื่อถือได้รับรอง
2.กรณีขอมีบัตรครั้งแรกเกินกำหนด
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
– เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือได้รับรอง
– ค่าปรับ 500 บาท
3.กรณีเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร (กรณีแจ้งเกิดเกินกาหนด)
– หลักฐาน/เอกสารที่ทางราชการออกให้ (กรณีตกสำรวจ)
– สอบสวนเจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ
– เปรียบเทียบปรับไม่เกิน 200 บาท (เกิน 60 วัน นับจากวันที่เพิ่มชื่อ)
4.กรณีเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น เช่น บัตรประจำตัว อื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด
– กรณีไม่สามารถแสดงหลักฐานว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้นให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่พนักงาน
เจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท
5.กรณีพ้นสภาพได้รับการยกเว้น
– หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น
6.กรณีได้/กลับคืนสัญชาติ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติ/ได้กลับคืนสัญชาติไทย

ขอมีบัตรใหม่
1.กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรเดิมที่หมดอายุ (ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ)
– บัตรหมดอายุเกิน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ เสียค่าปรับ 200 บาท)
2.กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนใบที่หาย
– แสดงหลักฐานที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี)
– นาเจ้าบ้านหรือบุคคลอื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 100 บาท

ขอเปลี่ยนบัตร
1.กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุด
– ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนชำรุดบริเวณภาพถ่าย หรือชื่อ-ชื่อสกุล ไม่สามารถพิสูจน์ตัวบุคคลได้ ให้แสดงหลักฐานทางราชการที่สามารถให้พิสูจน์ตัวบุคคลได้
– นำเจ้าบ้านหรือบุคคลอื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 100 บาท
2.กรณีเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
– หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล
– ค่าธรรมเนียม 100 บาท

การคัดรับรองเอกสารทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน
– ขอคัดฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ( ท.ร.14/1 , ท.ร.1/ก , ท.ร. 4 ) ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
– ขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านแทนฉบับเดิมที่สูญหาย ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
– ขอคัดฐานข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
* การคัดฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อการศึกษา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
* การแจ้งความกรณีเอกสารทางทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ให้ไป
แจ้งยังสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือสำนักทะเบียนอำเภอที่ไปติดต่อ ไม่ต้องไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ

มีหน้าที่ควบคุม ดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานในด้านการพัฒนารายได้ งานการเงินและบัญชี
งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
งานสถิติการคลัง งานพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง การประกวดราคา

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก
1. โรงเรือนกับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้นๆ และ
2. สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น

โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว ร้านค้า สานักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต หรือ อพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามมวย สนามม้า คลังสินค้า ฯลฯ

สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน คานเรือ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดที่ดินเป็นการถาวร

ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ได้ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้รับประเมิน อันหมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน

ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ผู้รับประเมิน(เจ้าของทรัพย์สิน)จะต้องยื่นแบบภ.ร.ด.2ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง ดังนี้
1.ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินปีที่ล่วงมาแล้ว
2.รายละเอียดจำนวนอาคารที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ทั้งสิ้นในเขตเทศบาล
3.รายการจำนวนเนื้อที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์แต่ละแปลง
4.บัตรประจำตัวประชาชน

การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน
เจ้าพนักงานจะทำการประเมินภาษีจากค่ารายปี หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ

อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี

การชำระเงิน
เมื่อผู้รับประเมิน(เจ้าของทรัพย์สิน)ได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษี ภ.ร.ด.8 จะต้องชำระค่าภาษี
ณ งานผลประโยชน์ กองคลัง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

การยื่นอุธรณ์
กรณีที่ผู้ประเมินได้รับแจ้งประเมินค่าภาษีแล้วไม่พอใจในการประเมินค่าภาษี ให้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี

การไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา
กรณีที่ผู้ประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม ดังนี้
1. ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
2. ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
3. ถ้าค้างชำระเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
4. ถ้าค้างชำระเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง

บทกำหนดโทษ
ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในกำหนดผู้นั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก ที่ดิน ซึ่งหมายถึง พื้นที่ดิน พื้นที่ๆเป็นภูเขาที่มีน้ำด้วย

ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่
ให้เจ้าของที่ดินที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี(ภ.บ.ท.5) ณ งานผลประโยชน์ กองคลัง ทุกรอบระยะเวลา 4 ปี  กรณีบุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงไปให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายในเวลา 30 วัน นับจากวันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่หรือจำนวนที่ดินได้มีการเปลี่ยนแปลง

การชำระเงินค่าภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี
การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินค่าภาษี

การลดหย่อน
บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียว หรือหลายแปลงที่อยู่ในเขตเทศบาลและใช้ที่ดินนั้น
เป็นที่อยู่อาศัยของตนเป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษี
บำรุงท้องที่ 100 ตารางวา

ภาษีป้าย
ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้าย อันหมายถึงป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทาให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
– ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี
– กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่
การชำระเงินค่าภาษี
ป้ายประเภท 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภท 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนไปกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือ
เครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภท 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่
หรือ
(ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ากว่าอักษร
ต่างประเทศให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราส่วนต่ากว่าป้าย 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกาหนด
– ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
– ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี

ค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอย
สำหรับอาคารโรงเรือนวันหนึ่งมูลฝอยเกิน 20 ลิตร ค่าธรรมเนียม เดือนละ 30 บาท

มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานในด้านการควบคุมอาคารและ งานขออนุญาต
ปลูกสร้างอาคาร การควบคุมผังเมืองและการจัดท าผังเมืองงานวิศวกรรมโยธางานถาปัตยกรรม
งานสาธารณูปโภค งานสถานที่ และไฟฟ้าสาธารณะ งานศูนย์เครื่องจักรกลงานสวนสาธารณะ 

มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบ งานแผนงานสาธารณสุข งานภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม
งานรักษาความสะอาด งานเผยแพร่และฝึกอบรมงานสัตวแพทย์
งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ งานศูนย์บริการสาธารณสุข
งานทันตสาธารณสุข งาน การเงินและบัญชี 

มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านงาน แผนงานและโครงการ งานระบบสารสนเทศ งานงบประมาณ งานการเจ้าหน้าที่ งานวางแผน บุคคลและทะเบียนประวัติ งานโรงเรียน งานการศึกษาประถมวัย งานกิจการนักเรียน งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร งานพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน งานกีฬาและนันทนาการ งานส่งเสริมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม งานนิเทศการศึกษา
โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองลพบุรี มีดังนี้
1. โรงเรียนเทศบาล 1 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
2. โรงเรียนเทศบาล 2 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
3. โรงเรียนเทศบาล 3 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
4. โรงเรียนเทศบาล 4 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
5. โรงเรียนเทศบาล 5 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี
และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองลพบุรี อีก 1 แห่ง

มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านธุรการ งานวิเคราะห์
นโยบายและแผน งานจัดทำงบประมาณ  งานบริการข้อมูลข่าวสารทางท้องถิ่น

มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการงานผลิต งานจำหน่ายและบริการงานการเงินและบัญชี งานจัดเก็บรายได้ 

มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ งานส่งเสริมสวัสดิภาพเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุ
งานพัฒนาชุมชน งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานกิจการสตรีและคนชรา

การให้บริการด้านสวัสดิการสังคม มีดังนี้

1. การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
คุณสมบัติผู้ขอรับเบี้ยยังชีพ ได้แก่
– อายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
– ภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่ขอรับเบี้ย
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
– สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
– สำเนาสมุดบัญชีธนาคารใดๆ ก็ได้ ประเภทออมทรัพย์ 1 ฉบับ
* กรณีไม่สามารถมาลงทะเบียนเองได้ให้มอบอำนาจ ผู้รับมอบต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ 1 ฉบับ
– หนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
– สำเนาสมุดบัญชีธนาคารใดๆ ก็ได้ ประเภทออมทรัพย์ผู้รับมอบ 1 ฉบับ

2.การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ
คุณสมบัติผู้ขอรับเบี้ยยังชีพ ได้แก่
– มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่ขอรับเบี้ย
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนคนพิการ ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
– สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
– สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ 1 ฉบับ
– สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ธกส. ประเภทออมทรัพย์ 1 ฉบับ
* กรณีไม่สามารถมาลงทะเบียนเองได้ให้มอบอำนาจ ผู้รับมอบต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ 1 ฉบับ
– หนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
– สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ธกส. ประเภทออมทรัพย์ผู้รับมอบ 1 ฉบับ

3.การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
คุณสมบัติผู้ขอรับเบี้ยยังชีพ ได้แก่
– มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่ขอรับเบี้ย
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนคนพิการ ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชน/ใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) 1 ฉบับ
– สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
– ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง 1 ฉบับ
– สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ธกส. ประเภทออมทรัพย์ 1 ฉบับ
* กรณีไม่สามารถมาลงทะเบียนเองได้ให้มอบอำนาจ ผู้รับมอบต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ 1 ฉบับ
– หนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
– สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ธกส. ประเภทออมทรัพย์ผู้รับมอบ 1 ฉบับ

4.การจดทะเบียนคนพิการ
นำเอกสารยื่นขอจดทะเบียนได้ที่
1. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
2. โรงพยาบาล
3. เทศบาลเมือง
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนคนพิการ ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชน/ใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) 2 ฉบับ
– สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ
– รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
– เอกสารรับรองความพิการ จากโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น
* กรณีไม่สามารถมาลงทะเบียนเองได้ให้มอบอำนาจ ผู้รับมอบต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ 1 ฉบับ
– สำเนาทะเบียนผู้รับมอบ 1 ฉบับ
– หนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ

5.การให้คำปรึกษาและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการด้านการสงเคราะห์และ
สวัสดิการภาครัฐ
ดำเนินการดังนี้
1.กรอกคำขอร้องขอรับการช่วยเหลือทั่วไป
2.สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
4.รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 รูป

* เทศบาลจะดำเนินการให้การช่วยเหลือ หากอำนาจหน้าที่ไม่สามารถกระทำได้ จะประสาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป

มีหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรอง ให้ความเห็นและเสนอแนะแก่ปลัดเทศบาล
เกี่ยวกับงานการเงินของเทศบาล และควบคุมตรวจสอบด้านอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย